สนุก! ความรู้
http://www.chiangmaiflying.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 HOME

 MAP

 HOW TO GO

 GALLERY

 VIDEO

 WEB BOARD

 LINK

 CONTACT

 LOCATION

สถิติ

เปิดเว็บ20/02/2009
อัพเดท27/10/2023
ผู้เข้าชม995,086
เปิดเพจ1,339,063

บริการ

AIRFIELD
AIRCRAFT
CLUB
MEMBERSHIP
LEARN TO FLY
HOW TO GO
เว็บบอร์ด
GALLERY
VIDEO
THAI SATELLITE
RAIN RADAR
NORTH CENTER (MET OFFICE)
GOOGLE TRANSLATOR

การนำเข้าเครื่องบิน

(อ่าน 14396/ ตอบ 14)

หญิง

สวัสดีค่ะ
      ขออนุญาตเรียนถามดังนี้ค่ะ
      1.  หากต้องการแยกชิ้นส่วนเครื่องทั้งลำ แต่ส่งพร้อมกัน เสียภาษีอย่างไร กี่เปอร์เซนต์
และกรณีเฉพาะชิ้นส่วนแต่ไม่ทั้งลำ เสียภาษีอากรเท่ากันหรือไม่ค่ะ
      2.  เมื่อประกอบเครื่องบินที่เมืองไทยแล้ว ต้องมีไลเซนสำหรับเครื่องบินหรือไม่ค่ะ
ต้องติดต่อหน่วยงานไหน และมีขั้นตอนอย่างไร

                                              ขอบพระคุณมากค่ะ
                                                          หญิง


เจ้าของเว็บไซต์ แก้ไขเมื่อ 18/05/2010 - 19:05

ThongKwao

เรียน คุณหญิง
 
         ขออภัยครับ ตอนนี้ผมไปอบรมหลักสูตรของศุลกากรญี่ปุ่นอยู่ที่เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นครับ..กลับไปประมาณ วันที่ 22 มีนาคม 2553 แล้วจะเร่งตอบให้นะครับ
         สำหรับข้อ 2 สามารถเข้าดูในเว็บลิ้งค์ จะมีชื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปดูในหน่วยงานกรมการบินพลเรือนได้ก่อนนะครับ
         แต่ตอนนี้ขอบอกโดยย่อก่อนครับว่าการสร้างหรือผลิตอากาศยานในไทยก็ทำได้แต่ต้องเป็นไปตามระเบียบของกรมการบินพลเรือนครับ ซึ่งจะมีขั้นตอนตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้ การตรวจสอบอนุมัติผู้สร้าง ผู้ประกอบ ฯลฯ เมื่อผ่านขั้นตอนประกอบเสร็จแล้วก็ต้องมีการขอออกใบสำคัญการจดทะเบียน, ใบสำคัญสมควรเดินอากาศสำหรับอากาศยาน
นั้นๆ (อายุ 1 ปี:ต่อทุกปี) และถ้าจะใช้อากาศยานก็ต้องมีการขอออกใบอนุญาตให้ใช้
อากาศยานด้วย(อายุ 5 ปี)(ปัจจุบันหากขอคนแรกได้แล้ว คนต่อไปก็ขอเพิ่มชื่อผู้ใช้ได้(แต่ต้องเป็นชื่อของนักบินที่มีใบอนุญาต..อีกอย่างใบขอใช้จะมีการบังคับให้ทำประกันภัยอากาศยานสำหรับความเสียหายอันเกดจากอากาศยานนั้นต่อบุคคลที่สาม(ซึ่งไม่รวมถึงนักบินและผู้โดยสารครับ)
         ในเว็บของกรมการบินพลเรือนก็จะมีบทกำหนดโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนด้วยครับ  (ผมเคยเห็นการทำรายการถ่ายทำวีดีโอและมีการเผยแพร่ในเว็บไซต์แห่งหนึ่งซึ่งเป็นรายการสารคดี่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่ง ในขณะที่สนามยังไม่ได้รับอนุญาต ใบสำคัญสมควรเดินอากาศก็ยังไม่ได้ต่ออายุ (ซึ่งหมายถึงประกันภัยอากาศยานก็คงไม่ได้ต่ออายุเช่นกัน..)กรณีดังกล่าวอาจเสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีได้ง่ายมากเพราะมีการระบุวันเวลาถ่ายทำ..พร้อมภาพการขึ้นลงของอากาศยาน ณ สนามบินที่ยังไม่ได้รับอนุญาตแห่งนั้น(ขออนุญาตปิดนาม..แต่เป็นการเตือนให้ทราบถึงความเสี่ยงที่อาจถูกดำเนคดีตาม กฎหมายของกรมการบินพลเรือนได้ง่ายครับ)   
         ผมขออนุญาตสรุปให้ทราบคร่าวๆก่อนนะครับ..กลับไปจะเพิ่มเติมรายละเอียดให้อีกครับ
                                          ด้วยความยินดีครับ
                                          สนามบินทองกวาว
                                           14 มีนาคม 2553            

เว็บมาสเตอร์

เรียน คุณหญิง ที่นับถือ
          ก่อนอื่นผมขออภัยที่ตอบท่านล่าช้า...เนื่องจากเพิ่งจะเสร็จสิ้นภารกิจ...
เริ่มเลยนะครับผมขอตอบส่วนที่ค้างไว้โดยเฉพาะเรื่องของอะไหล่หรือ
ส่วนประกอบของอากาศยาน
ซึ่งในเรื่องนี้มีข้อยกเว้นอยู่หลายข้อที่ไม่ยอม
ให้นำอะไหล่ของอากาศยานซึ่งเข้าข้อยกเว้น หรือ
มีประเภทพิกัดระบุไว้
เฉพาะแล้วไปไว้ในประเภทพิกัด 8803 ซึ่งระบุไว้กว้างๆว่าเป็นส่วนประกอบ
อากาศยานของของตามประเภทที่8801 หรือ 8802 ( แต่ได้ระบุไว้เฉพาะคือ
ใบพัด โรเตอร์และส่วนประกอบ และอันเดอร์แคริเอจและส่วนประกอบของ
ของดังกล่าว ซึ่งะบุไว้แล้วในประเภทพิกัดนี้ หากนอกเหนือที่ระบุไว้โดยเฉพาะ
แล้ว และไม่เข้าข้อยกเว้นที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยพิกัด(พรก.พิกัด
อัตราศุลกากร พ.ศ.2530)จึงสามารถนำ
อะไหล่ของอากาศยานนั้นมาจัด
เข้าประเภทพิกัดที่ 8803 นั่นเอง 
(อาจดูแล้วยุ่งยากแต่เป็นเรื่องหลักเกณฑ์การตีความที่กำหนดไว้ในกฏหมายนี้....
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ครับ)
       สำหรับข้อยกเว้น สำหรับของที่เป็นส่วนประกอบหรืออะไหล่ของอากาศยานนั้น
มีอยู่หลายที่ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรทั้งที่อยู่ในข้อยกเว้น
ตาม
หมายเหตุของหมวดที่ 17 (ว่าด้วยประเภทพิกัดของยานบก(ตอนที่ 87),
อากาศยาน(ตอนที่ 88)
ยานน้ำ(ตอนที่ 89)และเครื่องอุปกรณ์ขนส่งที่เกี่ยวข้อง)
และที่มีอยู่ในประเภทที่มีการระบุชนิดของ
ไว้โดยชัดแจ้งเช่น ประเภทพิกัดที่
40  ระบุให้ยางของอากาศยานอยู่ในประเภทพิกัดที่ 4011-4013
แล้วแต่กรณี
(4011.30.00 ยางนอกชนิดอัดลมที่เป็นของใหม่
, 4012.13.00 ยางที่หล่อดอกใหม่,
4012.20.30 ยางนอกชนิดอัดลมที่ใช้แล้ว, 4013.90.40 ยางใน)
...มีต่อ...

เจ้าของเว็บไซต์ แก้ไขเมื่อ 18/05/2010 - 18:32

เว็บมาสเตอร์

ต่อครับ..

ข้อยกเว้นที่กำหนดไว้ในหมายเหตุของหมวดที่ 17 ข้อ 2 ซึ่งมีหลายข้อ แต่ในที่นี่ขอ
ยกตัวอย่าง
เป็นบางข้อ เช่น   ส่วนสำคัญที่ระบุไว้ตอนต้นของหมายเหตุข้อ 2 คือ
คำว่า "ส่วนประกอบ" และ
 "ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบ" ไม่ให้ใช้กับของ
ดังต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเป็นของที่บ่งชี้ว่าได้ใช้กับ
ของในหมวดนี้หรือไม่ก็ตาม  
     (ก)  ข้อต่อ แหวนรองหรือของที่คล้ายกัน ทำด้วยวัตถุใดก็ตาม (ให้จำแนกตาม
            ประเภทของวัตถุที่ใช้ทำ หรือประเภทที่ 8484) หรือของอื่นๆ ทำด้วยยาง
            วัลแคไนซ์
นอกจากยางแข็ง (ประเภทที่ 4016)
     (ข)  ส่วนประกอบที่ใช้ประโยชน์ได้โดยทั่วไป ตามที่นิยามไว้ในหมายเหตุ 2
            ของหมวด 15
  ทำด้วยโลหะสามัญ(หมวด 15 ) หรือของที่คล้ายกันทำด้วย
            พลาสติก (ตอนที่ 39)
            
(ตัวอย่างเช่น น๊อต สกรู แหวนรอง ถ้าทำด้วยเหล็ก อยู่ในตอนที่ 73, ทำด้วย
             อลูมิเนียม
  อยู่ในตอนที่ 76 เดิมอัตราอากรร้อยละ 35 ลดเหลือร้อยละ 10 , 
           
ถ้าทำด้วยทองแดง
อยู่ในตอนที่ 74 เดิมอัตราอากรร้อยละ 35 ปัจจุบันยกเว้น
            อากร,  แต่ถ้าทำด้วยพลาสติก
อยู่ในตอนที่ 39 เดิมอัตราอากรร้อยละ 40
            ลดเหลือร้อยละ 10 )
            ..มีต่อครับ...

เจ้าของเว็บไซต์ แก้ไขเมื่อ 18/05/2010 - 18:44

เว็บมาสเตอร์

....ต่อครับ..  
     
(ค) ของในตอนที่ 82 (เครื่องมือ)
           
(คำอธิบาย : เป็นเครื่องมือชนิดใด ก็ดูในประเภทพิกัดย่อยของตอนที่ 82
             ตัวอย่าง  เช่น
 ประแจบอกซ์ชนิดถอดสับเปลี่ยนได้ จัดเข้าประเภทพิกัด
             8204.20.00 เดิมอัตราอากร
ร้อยละ 25 ลดเหลือร้อยละ20, ไขควง
            จัดเข้าประเภทพิกัดที่ 8205.40.00 เดิมอัตราอากร
ร้อยละ 25 ลดเหลือ
            ร้อยละ10 )
       
(ง) ...........
       (จ) เครื่องจักรและอุปกรณ์ตามประเภทที่ 8401 ถึง 8479 และส่วนประกอบ
             ของเครื่องดังกล่าว ...........
หรือของตามประเภทที่ 8483 เฉพาะที่เป็นส่วน
             ประกอบของเครื่องยนต์  หรือมอเตอร์
  (ตัวอย่างเช่น เครื่องยนต์อากาศยาน
             ชนิดเบ็นซิน จัดเข้าประเภทพิกัด 8407.10.10 ถ้าเป็นชนิดดีเซล
จัดเข้าประเภท
             พิกัด 8408.90 ถ้าเป็นอะไหล่เครื่องยนต์ จัดเข้า 8409.10(กรณีอะไหล่มีข้อ
             ยกเว้นบางอย่าง)
เดิมอัตราอากรร้อยละ 30 ลดเหลือร้อยละ 10)
     (ฉ) เครื่องจักรไฟฟ้าหรือเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า (ตอนที่ 85)

           (ตัวอย่างเช่น สวิทช์ ปลั๊ก ข้อต่อทางไฟฟ้า อยู่ในตอนที่ 8536 , มอเตอร์ อยู่ใน
            ตอนที่ 8501  เดิมอัตราอากรร้อยละ 35 ลดเหลือร้อยละ 10, สายไฟ อยู่ในตอน
            ที่ 8544  เดิมอัตราร้อยละ 40 ลดเหลือร้อยละ 10, แบตเตอรี่ อยู่ในตอนที่ 8507

            เดิมอัตราอากรร้อยละ 60  ลดเหลือร้อยละ 10, แมกนีโตจุดระเบิด คอยล์
            จุดระเบิด  หัวเทียน อยู่ในตอนที่ 8511  เดิมอัตราอากรร้อยละ 35 ลดเหลือ
            ร้อยละ 10 เป็นต้น )
   ..มีต่อครับ..

เจ้าของเว็บไซต์ แก้ไขเมื่อ 18/05/2010 - 18:51

จี

สวัสดีค่ะ มีเรื่องสอบถามค่ะ

เพื่อนจะนำเครื่องบินเล็ก 2 หรือ 4 ที่นั่ง ไปใช้งานที่เมืองไทยค่ะ ทีนี้เขาอยากจะทราบข้อมูลเกี่ยวกับภาษีนำเข้า
1. อัตราเท่าไหร่
2. ฐานข้อมูลที่จะใช้คิด จะใช้ราคาประเมินของไทย หรือว่า ราคาซื้อที่ขายเมืองนอก

มีบริษัทไหนที่แนะนำในการดำเนินเรื่องไหมคะ

รบกวนตอบหน่อยนะคะ

จี

ขออนุญาตแทรกข้อมูลนะคะ เจ้าของกระทู้

เว็บมาสเตอร์

สวัสดีครับ คุณจ๊
     1. เครื่องบินเล็ก fix wing ปัจจุบัน ยกเว้นอากร คงเสียเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 7 % ครับ
     2. ฐานราคาใช้ราคาซื้อขายที่เมืองนอก(ราคา FOB : Free on Board) รวมค่าระวางบรรทุกถึงท่าที่นำเข้า และค่าประกันภัยอัตรา 1 % ของราคาซื้อขายที่เมืองนอกครับ (ราคาFOB) (รวมกันเรียกว่าราคา CIF ครับ : Cost,Freight, Insurance)
     
                                  ด้วยความยินดีครับ
                                  สนามบินทองกวาว 
                                  31 ธันวาคม 2554 
Page : 1
Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

อากาศยาน

ประชาสัมพันธ์

ปฎิทิน

« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

 HOME

 CONTACT

view